วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วิวัฒนาการของระบบคอมพิวเตอร์

วิวัฒนาการของระบบคอมพิวเตอร์
            ต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์อาจกล่าวได้ว่ามาจากแนวความคิดของระบบตัวเลข ซึ่งได้พัฒนาเป็นวิธีการคำนวณต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวณอย่างง่าย ๆ คือ" กระดานคำนวณ" และ "ลูกคิด" 

ในศตวรรษที่ 17 เครื่องคำแบบใช้เฟื่องเครื่องแรกได้กำเนิดขึ้นจากนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศษ คือ Blaise Pascal โดยเครื่องของเขาสามารถคำนวณการบวกการลบได้อย่างเที่ยงตรง และในศตวรรษเดียวกันนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันคือ Gottried Wilhelm von Leibniz ได้สร้างเครื่องคิดเลขเครื่องแรกที่สามารถคูณและหารได้ด้วย 
ในต้นศตวรรษที่ 19 ชาวฝรั่งเศษชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พัฒนาเครื่องทอผ้าที่สามารถสั่งด้วยโปรแกรมได้ โดยเครื่องทอผ้านี้ใช้บัตรขนาดใหญ่ ซึ่งได้เจาะรู้ไว้เพื่อควบคุมรูปแบบของลายที่จะปัก บัตรเจาะรู(punched card) ที่ Jacquard ใช้นี้ได้ถูกพัฒนาต่อๆมาโดยผู้อื่น เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลและโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ
ต่อมาในศตวรรษเดียวกัน ชาวอังกฤษชื่อ Charles Babbage ได้ทำการสร้างเครื่องสำหรับแก้สมการโดยใช้พลังงานไอน้ำ เรียกว่า difference engine และถัดจากนั้นได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เมื่อเขาได้ทำการออกแบบ เครื่องจักรสำหรับทำการวิเคราะห์ (analytical engine) โดยใช้พลังงานจากไอน้ำ ซึ่งได้มีการออกแบบให้ใช้บัตรเจาะรูของ Jacquard ในการป้อนข้อมูล ทำให้อุปกรณ์ชิ้นนี้มีหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล และหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ครบตามรูปแบบของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ แต่โชคไม่ดีที่แม้ว่าแนวความคิดของเขวจะถูกต้อง แต่เทคโนโลยีในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเครื่องที่สามารถทำงานได้จริง อย่างไรก็ดี Charles Babbage ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์คนแรก และผู้ร่วมงานของเขาคือ Augusta Ada Byron ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลก

วิวัฒนาการของระบบคอมพิวเตอร์ เลียงตามลำดับ

กำเนิดคอมพิวเตอร์


            ก่อนจะมีคอมพิวเตอร์ เราต้องรู้ก่อนนะครับ ว่ามีอะไรมาก่อน ... ใช้แล้วครับ ผมกำลังจะพูดถึงอดีต เมื่อ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ก็มีชาวจีนนะครับ ได้เป็นคนประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณ ขึ้นมา เรียกว่า ลูกคิด (Abacus) ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของเครื่องคำนวณและคอมพิวเตอร์นั่นเอง ส่วนเรื่องราวของลูกคิดนั้นก็หาอ่านได้จากเว็บนี้ได้เลยครับ ลูกคิด

   หลังจากนั้นนะครับ ในปี พ.ศ. 2185 ก็มีชาวผรั่งเศสคนนึง ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ครับ
 ชื่อว่า Blaise Pascal ได้ออกแบบเครื่องช่วยในการคำนวณโดยใช้หลักการหมุนของฟันเฟือง

กอดฟริด ฟอนไลบ์นิช
(Gottfried von Leibniz)ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่มีขีดความสามารถสูง สามารถคูณและหารได้  บุคคลผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการผลิตเครื่องจักรคำนวณคือ ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ. 2343 เขาประสบความสำเร็จสร้างเครื่องคำนวณ ที่เรียกว่า
Difference engine 

ต่อมา
ในปีพ.ศ.2439 ฮอลเลอริชได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทเพื่อผลิตจำหน่ายเครื่องจักรช่วยในการ คำนวณ ชื่อ บริษัท คอมพิวติง เทบบูลาติงเรดคอสดิง หลังจากนั้นในปีพ.ศ.2467 ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อบริษัทไอบีเอ็ม (International Business Machine: IBM)

   แนวคิดในการประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ของแบบเบจนั้นก้าวหน้ามากโดยเฉพาะแนวคิด ทางด้านการใช้โปรแกรมควบคุมการทำงานโดยอัตโนมัติ แบบเบจได้ริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับการใช้คำสั่งเลือกแบบมีเงื่อนไข เครื่องวิเคราะห์ที่แบบเบจวิเคราะห์ขึ้นอาจกล่าว ได้ว่าเป็นแนวคิดเดียวกับการ ทำงานของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แต่แบบเบจก็ไม่สามารถสร้างเครื่องวิเคราะห์นี้ให้เป็นจริงได้เนื่องจากเป็น ความคิดที่ล้ำยุคเกินไป จึงทำให้ ไม่มีช่างฝีมือคนใดสามารถผลิตฟันเฟืองต่างๆ ตามที่เขาต้องการได้ แบบเบจถึงแก่กรรมก่อนที่จะได้ทราบว่าแนวคิดของเขานั้น สามารถ เป็นจริงได้ในเชิงไฟฟ้าไม่ใช่เชิงกล แบบเบจจึงได้รับสมญานามว่า เป็น บิดาแห่งคอมพิวเตอร์

   และก็นั่นแหละครับ กำเนิดของคอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักกัน มันคือเชิงไฟฟ้า ไม่ใช่เชิงกล.....

โดยคอมพิวเตอร์ในยุคแรก อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1945 ถึง ค.ศ. 1958 (พ.ศ.2488ถึง พ.ศ.2501) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบหลอดสุญญากาศ ซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง มีปัญหาเรื่องความร้อนของหลอดสุญญากาศ จึงทำให้ไส้ของหลอดขาดบ่อย การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I) อีนิแอค (ENIAC) ,ยูนิแวค, (UNIVAC)

  ส่วนคอมพิวเตอร์ยุคที่สองนั้น อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1959 ถึง ค.ศ. 1963 (พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506) หรือที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบทรานซิสเตอร์ โดยมี แกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ ใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาเขียนเป็นประโยคที่คน สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น

 แล้วก็มาถึงคอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1964 ถึง ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2507 ถึง 
พ.ศ. 2512) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit: IC) ประมาณปี พ.ศ. 2508 ได้มีการพัฒนาสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอน ขนาดเล็ก และเกิดวงจรรวมบนแผ่นซิลิกอนที่เรียกว่า ไอซี การใช้ไอซีเป็นส่วนประกอบทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงเรียกว่า มินิคอมพิวเตอร์
   จนมาถึงคอมพิวเตอร์ในยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969 จนถึงปัจจุบัน เป็นของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integration: VLSI) ทำให้ขนาดเครื่องมีขนาดเล็ก ระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก


และแล้วก็มาถึงยุคสุดท้ายนะครับนั่นก็คือคอมพิวเตอร์ยุคที่ห้านั่นเอง เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดี ยิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่างๆเข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)

ประเภทของคอมพิวเตอร์
อย่างแรกที่จะกล่าวถึงนะครับจะเป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ที่แบ่งตามลักษณะข้อมูลครับ ได้แก่.. 
            1. อนาลอกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อใช้กับงานเฉพาะด้าน มีการทำงานโดยใช้หลักในการวัด มีความละเอียดและสามารถคำนวณได้น้อยกว่าดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากเหมือนกับดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องที่ใช้วัดปริมาณทางฟิสิกส์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาในรูปของกราฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรวจสภาพอากาศ และที่ใช้ในวงการแพทย์ เช่น เครื่องตรวจวัดสายตา ตรวจวัดคลื่นสมองและการเต้นของหัวใจ เป็นต้น

   2. ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยใช้หลักในการคำนวณแบบลูกคิด หรือหลักการนับ และทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง และเนื่องจากดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกันและใช้กับงานได้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้ดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาให้สามารถทำงานได้เหมาะสมกับสภาพงานทั่ว ไป เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานวิจัยเปรียบเทียบค่าทางสถิติ งานบันทึกนัดหมาย งานส่งข้อความในรูปเอกสาร ภาพและเสียง ตลอดจนงานกราฟิกเพื่อนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น
 3.สุดท้ายนะครับก็คือ ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน มีประสิทธิภาพสูงและสามารถทำงานที่ซับซ้อนได้เนื่องจากการนำเทคนิคการทำงานของอนาลอกคอมพิวเตอร์และดิจิทัลคอมพิวเตอร์มา ใช้งานร่วมกัน เช่น การส่งยานอวกาศขององค์การนาซา จะใช้เทคนิคของอนาลอกคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการหมุนของตัวยานอวกาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกดดันอากาศ อุณหภูมิ ความเร็ว และใช้เทคนิคของดิจิทัลคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะทางจากพื้นผิวโลก เป็นต้น


อย่างที่สองที่จะกล่าวถึงนะครับจะเป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ที่แบ่งตามสมรรถนะ ขนาดและราคาได้ 5 ประเภท คือ..

1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รุ่นแรก สร้างในปี ค.ศ. 1960 ที่องค์การทหารของสหรัฐอเมริกา สร้างสามารถประมวลผลได้กว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที จึงทำให้ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีความเร็วในการประมวลผลสูงรองลงมาจาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ต้องอยู่ในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิและปราศจากฝุ่นละออง


   3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดกลางที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรม แต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้หลายร้อยคน (Multi-user) ในการทำงานที่แตกต่างกัน (Multi Programming) เช่นเดียวกับเครื่องเมนเฟรม แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างเครื่องเมนเฟรมและเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ คือ ความเร็วในการทำงานครับ
4.. เวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์ (Workstation Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่าย ซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อื่น ๆ โดยการเชื่อมโยงกับเทอร์มินัล (Terminal) หลาย ๆ เครื่อง อีกทั้งได้ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถในการคำนวณด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่น ๆ ที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟิกครับ
5. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  และก็สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทย่อยนะครับ นั่นก็คือ..

3     คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) มีการพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1975 โดยบริษัท IBM ครับ


โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก มี น้ำหนักเบาประมาณ 2-4 กิโลกรัม และบางกว่าแบบตั้งโต๊ะ สามารถพกพาไปยังสถาน

ที่ต่าง ๆ ได้สะดวก โดยมีหน้าจอและคีย์บอร์ดติดกัน ส่วนเม้าส์ (Mouse) และลำโพงจะอยู่ติดกับตัวเครื่อง โดยสามารถหาอุปกรณ์ดังกล่าวติดตั้งภายนอกเพิ่มเติมก็ได้ มีเครื่องอ่านแผ่นดิสก์ (Floppy Disk Drive) และเครื่องอ่านแผ่นซีดีรอม (CD-ROM drive) และพัฒนาให้มีขนาดเล็กกว่าเดิมสามารถวางบนตักได้

 ที่มา http://techemit.blogspot.com/2013/07/1.html  
      25/10/2558

สรุป
          จุดเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์มาจาก ลูกคิด แล้วเราจะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้มีการพัฒนารูปแบบให่ๆเพื่อจะให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Related Posts

วิวัฒนาการของระบบคอมพิวเตอร์
4/ 5
Oleh

Subscribe via email

Like the post above? Please subscribe to the latest posts directly via email.